หลักการเลือกคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1. งานทางด้านเอกสาร รายงาน หรืองานสำนักงานต่าง ๆ งานทางด้านนี้ โปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเครื่องจะเป็น โปรแกรม Microsoft Office และชุดโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะอย่าง ตามแต่ละบริษัทนั้น ๆ เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากนัก อาจพิจารณาคุณสมบัติตามความเหมาะสมได้ดังนี้ CPU : ใช้ Sempron, Athlon XP หรือ Celeron II ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป ( ในปัจจุบันต่ำกว่า 1 GHz หาซื้อตามร้านทั่วไปแทบไม่ได้แล้ว ) RAM : DDR-SDRAM ขนาด 128 MB ขึ้นไป หรือ 256 MB ถ้าเป็น Windows XP Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย เพื้อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้นไป ( ปัจจุบันถ้าต่ำกว่า 40 GB หาซื้อยากแล้ว ) จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว แต่ให้เน้นการรับประกัน Printer : ใช้แบบ Inkjet ยี่ห้ออะไรก็ได้ แต่ให้เน้นการรับประกันและราคาหมึกพิมพ์ที่ถูก อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ
การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภาพตัวอย่างคอมพิวเตอร์สำหรับงานทางด้านเอกสาร รายงาน หรือสำนักงานต่าง ๆ
- การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2. งานทางด้านกราฟฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อโฆษณาต่าง ๆ งานทางด้านนี้ โปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเครื่องมักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการทรัพยากรของเครื่องสูง เช่น โปรแกรม Photoshop, Illustrator, CoreIDRAW, AutoCAD และ 3Dmax Studio เป็นต้น ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรต้องมีคุณสมบัติที่สูงตามนั้นด้วย ดังนี้ CPU : ใช้ Athlon 64, Athlon XP หรือ Pentium 4 ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 1.5 GHz ขึ้นไป RAM : DDR-SDRAM ขนาด 256 MB ขึ้นไป Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย เพื้อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้น VGA Card : หรือการ์ดจอ ที่ใช้ เช่น Geforce 2 MX400 ขึ้นไป Geforce 4 MX440 ขึ้นไป และ Matrox G450 ขึ้นไป เป็นต้น ที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ดตั้งแต่ 64 ขึ้นไป จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว แต่ให้เน้นการรับประกัน DVD-ROM : ความเร็ว 16x ขึ้นไป CD-RW : มีคุณสมบัติ เขียน / เขียนซ้ำ / อ่าน ที่ความเร็ว 24x10x40x ขึ้นไป อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ
การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภาพตัวอย่างคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านกราฟฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อโฆษณาต่าง ๆ
การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3. เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก ปัจจุบันเกมส์ใหม่ ๆ ที่ออกมา ล้วยแล้วแต่มีความต้องการทรัพยากรของเครื่องสูง ๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่ CPU, RAM และที่สำคัญที่สุดคือ การ์ดจอ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงทุนสูง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับรองรับเกมส์ใหม่ ๆ ได้ CPU : ใช้ Athlon 64, Athlon XP หรือ Pentium 4 ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 2 GHz ขึ้นไป RAM : DDR-SDRAM ขนาด 256 MB ขึ้นไป Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย ถ้าไม่มีอาจหาซื้อมาได้ตามความต้องการ Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้น VGA Card : หรือการ์ดจอ ที่ใช้ เช่น Geforce 4 Ti4200 ขึ้นไป Geforce FX5200 ขึ้นไป และ ATi Radeon 9000 ขึ้นไป เป็นต้น ที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ดตั้งแต่ 128 ขึ้นไป Sound Card : หรือการ์ดเสียง ใช้เป็น SoundBlaster Live DE5.1 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ลำโพง : ใช้เป็นำโพงแบบ 2.1 หรือ 5.1 Channel ก็ได้ จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ
การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภาพตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก
คอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด และแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ ( ขายเป็นชุด ) กับแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง จริง ๆ แล้วทั้งสองแบบใช้งานได้ดีเหมือน ๆ กัน อุปกรณ์ภายในก็ไม่แตกต่างกัน ต่างกันตรงแบบแรกนั้นประกอบเสร็จแล้วจากโรงงานพร้อมใช้งานได้ทันที ส่วนแบบที่สองต้องเลือกหาชิ้นส่วนให้ครบก่อนแล้วจะประกอบเองหรือจ้างประกอบก็แล้วแต่ นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีข้อแตกต่างกันอยู่อีกหลายประการ
คอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด ข้อดีของคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด มีบริการหลังการขายที่ดี เมื่อเครื่องเสียหรือมีปัญหา สามารถส่งซ่อมได้ทันที ช่างจะแก้ไขห้เสร็จสรรพหรือเคลมอุปกรณ์ที่เสียให้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาของเราไปเคลมสินค้าเอง ข้อเสียของคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด ไม่สามารถเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ตามใจเองได้ ถ้าเป็นในกรณีผู้ใช้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ความชำนาญในเรื่องชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่ถ้าเป็นผู้ใช้ที่มีความรู้ความชำนาญก็สามารถจะแยกแยะข้อดี ข้อเสีย และราคาของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าไม่ชอบหรือไม่ถูกใจผู้ใช้เหล่านี้ ก็หันไปหาทางเลือกที่สอง นั้นคือ คอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง
คอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง ข้อดีของคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราพอใจ และราคาถูก เพราะเราเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เองซึ่งมีหลายราคาให้เลือก ข้อเสียของคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง เมื่อคอมพิวเตอร์มีปัญหาที่ไม่ได้มาจากตัวอุปกรณ์เราต้องแก้ไขเอง หรือเมื่อชิ้นส่วนอุปกรณ์ใดชำรุดเสียหาย ถ้ายังอยู่ในระยะประกัน เราจะต้องนำไปให้ร้านที่ซื้อมาเคลมสินค้าให้ หรือไม่ก็ต้องเคลมเองจากตัวแทนจำหน่ายโดยตรง
การรับประกันสินค้า ในการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการที่นำจะไปใช้ในแต่ละงานตามความจำเป็นของแต่ละบุคคลแต่สิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ คือ ต้องตรวจดูสภาพของอุปกรณ์ การรับประกัน ไดรเวอร์ และคู่มือ ประกอบกันไปด้วย ในส่วนของการรับประกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเลือกซื้ออุปกรณ์ โดยในปัจจุบันอุปกร์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ จะมีสติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ติดอยู่ที่อุปกรณ์ การรับประกันแบบนี้จะยืนยันว่าได้ซื้ออุปกรณ์มาจากร้านไหน ซื้อเมื่อไร และมีระยะเวลาประกันนานเพียงใด ทำให้เกิดความสะดวกทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ระยะเวลาในการรับประกัน ระยะเวลารับประกันนี้ โดยส่วนมากมักจะถูกกำหนดโดยผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตสินค้าอยู่แล้ว และโดยปกติอุปกรณ์แต่ละชนิดการรับประกันก็มีระยะเวลาการรับประกันไม่เท่ากัน ทำให้เวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเองหรือคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุดก็ต้องสนใจในเรื่องของการรับประกันเป็นสำคัญ
สติกเกอร์รับประกัน โดยปกติสติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีรูปแบบหน้าตาแตกต่างกันแต่ข้อมูลรายละเอียดไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก สติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบคือ 1. สติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ที่กำหนดเวลาเริ่มต้นในการรับประกัน โดยทางผู้รับประกันจะเขียนเดือนและปีที่ซื้อสินค้าลงไปบนสติกเกอร์ โดยรูปแบบนี้เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากง่ายในการเขียนบันทึก เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีระยะเวลาในการรับประกันไม่เท่ากัน เช่น จากรูป วันที่ซื้อสินค้าคือ เดือน 2 ( กุมภาพันธ์ ) ปี ค . ศ . 1999 และระยะเวลาของการหมดประกันก็คือ เดือน 2 ( กุมภาพันธ์ ) ปี ค . ศ . 2002 ( ในกรณีที่ระยะเวลารับประกันเป็น 4 ปี )
สติกเกอร์รับประกัน 2. สติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ที่กำหนดเวลาสิ้นสุดในการรับประกัน โดยทางผู้รับประกันจะเขียนเดือนและปีที่สินค้าหมดอายุการรับประกันลงไปบนสติกเกอร์ โดยรูปแบบนี้จะทำให้รู้ได้แน่นอนว่าอุปกรณ์นี้จะหมดรับประกันเมื่อใด เช่น จากรูป ระยะเวลาของการหมดประกันก็คือ เดือน 2 ( กุมภาพันธ์ ) ปี ค . ศ . 2002