วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

"...ผู้ที่มีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่ ยึดมั่นนั้นคือ ความดีเป็นผู้ที่เจริญ เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความ คิดที่บริสุทธิ์ไม่สามรถที่ปฏิบัติงานได้เป็น ผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน..."

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สติกเกอร์

สติกเกอร์กันปลอม พิมพ์ลาย "void if remove" เวลาลอกออก จะทิ้งคราบคำว่า void if remove 
เวลาส่องกับแสงไฟจะเป็นสะท้อนสีรุ้ง 

ประเภทของ จอคอมพิวเตอร์

สำหรับจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลายแบบถ้าจะกล่าวถึงตามลักษณะการทำงานกันจริงๆ ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทก็คือ จอแบบที่ใช้หลอดภาพในการแสดงผล หรือที่เรียกกันว่า Monitor หรือ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ส่วนอีกประเภทนั้นก็คือ จอแบบที่ใช้การเรืองแสงของผลึกที่เรียกว่าจอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งมีการทำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในส่วนของจอมอนิเตอร์นั้นก็สามารถที่จะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทนั้นก็คือ จอธรรมดา หรือจอแบบ Shadow Mask ซึ่งจะมีลักษณะของหน้าจอที่โค้งเล็กน้อย ส่วนอีกประเภทคือ จอแบน หรือจอแบบ Trinitron ซึ่งจอแบบนี้จะมีหน้าจอที่แบนเรียบเป็นแนวตรง ซึ่งตามผู้ ผลิตจะเรียกเทคโนโลยีนี้แตกต่างกันออกไป และจะมีการทำงานหรือส่วนเพิ่มเติมที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย

การเลือกคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์มีให้เลือกหลากหลายลักษณะ ทำให้หลายๆ ท่านอาจจะคิดไม่ตกว่าควรเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ลักษณะใด ผู้เขียนขอเสนอแนวทางเพื่อช่วยพิจารณาดังนี้
  • H/PC: Palmtop Computer, PDA, Cellular Phone เหมาะสำหรับ
    • นักธุรกิจ/บุคคลที่ต้องติดต่อลูกค้าตลอดเวลา ต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ รวมถึงตารางงาน (Schedule)
    • นักธุรกิจ/บุคคลต้องการส่งแฟกซ์ ติดต่อธุรกิจด้วยอีเมล์ตลอดเวลาที่ต้องการ
  • Notebook Computer
    • บุคคลที่ต้องเดินทางบรรยายอยู่เรื่อยๆ (Presentation)
    • บุคคลที่จำเป็นต้องทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในขณะที่ต้องเดินทางด้วย
    • หน่วยงานที่มีสาขาหลายสาขา และต้องถ่ายโอนข้อมูลตลอดเวลา
  • Desktop/Minitower Computer
    • หน่วยงาน/บุคคลที่สนใจใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน, การเรียน
    • การใช้คอมพิวเตอร์กับงานด้านมัลติมีเดีย งานกราฟิกดีไซน์
    • การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server)
  • Tower Computer
    • ผู้ใช้ที่ต้องการเพิ่มเติมอุปกรณ์เสริมในการทำงาน เช่น การ์ดเสียง, การ์ดตัดต่อวีดิโอ, การ์ดเครือข่าย, การ์ดโมเด็ม
         สำหรับยี่ห้อ รุ่น และร้านค้าในปัจจุบันทุกๆ ร้านมีศักยภาพใกล้เคียงกัน และแต่ละยี่ห้อก็ไม่แตกต่างกันมาก จึงไม่ใช่ประเด็นหลักในการเลือกซื้อ จุดสำคัญก็คงเป็นบริการหลังการขาย เนื่องจากต้องยอมรับว่าหลายๆ ท่านใช้คอมพิวเตอร์ในระดับผู้ใช้ ดังนั้นหากสามารถเลือกร้านค้า ที่มีบริการหลังการขายที่ดี มีอัธยาศัยเป็นกันเอง จะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน หรือหลังการซื้อมีน้อยลงไปได้

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์  

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1. งานทางด้านเอกสาร รายงาน หรืองานสำนักงานต่าง ๆ งานทางด้านนี้ โปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเครื่องจะเป็น โปรแกรม Microsoft Office และชุดโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะอย่าง ตามแต่ละบริษัทนั้น ๆ เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากนัก อาจพิจารณาคุณสมบัติตามความเหมาะสมได้ดังนี้ CPU : ใช้ Sempron, Athlon XP หรือ Celeron II ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป ( ในปัจจุบันต่ำกว่า 1 GHz หาซื้อตามร้านทั่วไปแทบไม่ได้แล้ว ) RAM : DDR-SDRAM ขนาด 128 MB ขึ้นไป หรือ 256 MB ถ้าเป็น Windows XP Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น การ์ดจอ การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย เพื้อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้นไป ( ปัจจุบันถ้าต่ำกว่า 40 GB หาซื้อยากแล้ว ) จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว แต่ให้เน้นการรับประกัน Printer : ใช้แบบ Inkjet ยี่ห้ออะไรก็ได้ แต่ให้เน้นการรับประกันและราคาหมึกพิมพ์ที่ถูก อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ 

              การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภาพตัวอย่างคอมพิวเตอร์สำหรับงานทางด้านเอกสาร รายงาน หรือสำนักงานต่าง ๆ
  •     การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2. งานทางด้านกราฟฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อโฆษณาต่าง ๆ งานทางด้านนี้ โปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเครื่องมักจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการทรัพยากรของเครื่องสูง เช่น โปรแกรม Photoshop, Illustrator, CoreIDRAW, AutoCAD และ 3Dmax Studio เป็นต้น ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรต้องมีคุณสมบัติที่สูงตามนั้นด้วย ดังนี้ CPU : ใช้ Athlon 64, Athlon XP หรือ Pentium 4 ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 1.5 GHz ขึ้นไป RAM : DDR-SDRAM ขนาด 256 MB ขึ้นไป Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย เพื้อประหยัดค่าอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้น VGA Card : หรือการ์ดจอ ที่ใช้ เช่น Geforce 2 MX400 ขึ้นไป Geforce 4 MX440 ขึ้นไป และ Matrox G450 ขึ้นไป เป็นต้น ที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ดตั้งแต่ 64 ขึ้นไป จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว แต่ให้เน้นการรับประกัน DVD-ROM : ความเร็ว 16x ขึ้นไป CD-RW : มีคุณสมบัติ เขียน / เขียนซ้ำ / อ่าน ที่ความเร็ว 24x10x40x ขึ้นไป อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ
  •  การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภาพตัวอย่างคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านกราฟฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อโฆษณาต่าง ๆ

  • การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3. เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก ปัจจุบันเกมส์ใหม่ ๆ ที่ออกมา ล้วยแล้วแต่มีความต้องการทรัพยากรของเครื่องสูง ๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่ CPU, RAM และที่สำคัญที่สุดคือ การ์ดจอ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงทุนสูง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับรองรับเกมส์ใหม่ ๆ ได้ CPU : ใช้ Athlon 64, Athlon XP หรือ Pentium 4 ก็ได้ ตั้งแต่ความเร็ว 2 GHz ขึ้นไป RAM : DDR-SDRAM ขนาด 256 MB ขึ้นไป Mainboard : ใช้เมนบอร์ดอะไรก็ได้ แต่เน้นการรับประกันและอุปกรณ์ On Board เช่น โมเด็ม และการ์ดแลน ให้ติดมาบนเมนบอร์ดด้วย ถ้าไม่มีอาจหาซื้อมาได้ตามความต้องการ Harddisk : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขนาด 40 GB ขึ้น VGA Card : หรือการ์ดจอ ที่ใช้ เช่น Geforce 4 Ti4200 ขึ้นไป Geforce FX5200 ขึ้นไป และ ATi Radeon 9000 ขึ้นไป เป็นต้น ที่มีหน่วยความจำบนตัวการ์ดตั้งแต่ 128 ขึ้นไป Sound Card : หรือการ์ดเสียง ใช้เป็น SoundBlaster Live DE5.1 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ลำโพง : ใช้เป็นำโพงแบบ 2.1 หรือ 5.1 Channel ก็ได้ จอภาพแบบ CRT/LCD : ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ขนาด 17 นิ้ว อุปกรณ์เพิ่มเติม : เช่น ลำโพง , Optical Mouse และอื่น ๆ เลือกซื้อได้ตามความต้องการ

  •  การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ภาพตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก

  •  คอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด และแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ ( ขายเป็นชุด ) กับแบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง จริง ๆ แล้วทั้งสองแบบใช้งานได้ดีเหมือน ๆ กัน อุปกรณ์ภายในก็ไม่แตกต่างกัน ต่างกันตรงแบบแรกนั้นประกอบเสร็จแล้วจากโรงงานพร้อมใช้งานได้ทันที ส่วนแบบที่สองต้องเลือกหาชิ้นส่วนให้ครบก่อนแล้วจะประกอบเองหรือจ้างประกอบก็แล้วแต่ นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีข้อแตกต่างกันอยู่อีกหลายประการ

  •  คอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด ข้อดีของคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด มีบริการหลังการขายที่ดี เมื่อเครื่องเสียหรือมีปัญหา สามารถส่งซ่อมได้ทันที ช่างจะแก้ไขห้เสร็จสรรพหรือเคลมอุปกรณ์ที่เสียให้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาของเราไปเคลมสินค้าเอง ข้อเสียของคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด ไม่สามารถเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ตามใจเองได้ ถ้าเป็นในกรณีผู้ใช้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ความชำนาญในเรื่องชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่ถ้าเป็นผู้ใช้ที่มีความรู้ความชำนาญก็สามารถจะแยกแยะข้อดี ข้อเสีย และราคาของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าไม่ชอบหรือไม่ถูกใจผู้ใช้เหล่านี้ ก็หันไปหาทางเลือกที่สอง นั้นคือ คอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง

  •  คอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง ข้อดีของคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราพอใจ และราคาถูก เพราะเราเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เองซึ่งมีหลายราคาให้เลือก ข้อเสียของคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเอง เมื่อคอมพิวเตอร์มีปัญหาที่ไม่ได้มาจากตัวอุปกรณ์เราต้องแก้ไขเอง หรือเมื่อชิ้นส่วนอุปกรณ์ใดชำรุดเสียหาย ถ้ายังอยู่ในระยะประกัน เราจะต้องนำไปให้ร้านที่ซื้อมาเคลมสินค้าให้ หรือไม่ก็ต้องเคลมเองจากตัวแทนจำหน่ายโดยตรง

  •  การรับประกันสินค้า ในการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการที่นำจะไปใช้ในแต่ละงานตามความจำเป็นของแต่ละบุคคลแต่สิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ คือ ต้องตรวจดูสภาพของอุปกรณ์ การรับประกัน ไดรเวอร์ และคู่มือ ประกอบกันไปด้วย ในส่วนของการรับประกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเลือกซื้ออุปกรณ์ โดยในปัจจุบันอุปกร์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ จะมีสติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ติดอยู่ที่อุปกรณ์ การรับประกันแบบนี้จะยืนยันว่าได้ซื้ออุปกรณ์มาจากร้านไหน ซื้อเมื่อไร และมีระยะเวลาประกันนานเพียงใด ทำให้เกิดความสะดวกทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

  •  ระยะเวลาในการรับประกัน ระยะเวลารับประกันนี้ โดยส่วนมากมักจะถูกกำหนดโดยผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตสินค้าอยู่แล้ว และโดยปกติอุปกรณ์แต่ละชนิดการรับประกันก็มีระยะเวลาการรับประกันไม่เท่ากัน ทำให้เวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบเลือกชิ้นส่วนประกอบเองหรือคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุดก็ต้องสนใจในเรื่องของการรับประกันเป็นสำคัญ

  •  สติกเกอร์รับประกัน โดยปกติสติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีรูปแบบหน้าตาแตกต่างกันแต่ข้อมูลรายละเอียดไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก สติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบคือ 1. สติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ที่กำหนดเวลาเริ่มต้นในการรับประกัน โดยทางผู้รับประกันจะเขียนเดือนและปีที่ซื้อสินค้าลงไปบนสติกเกอร์ โดยรูปแบบนี้เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากง่ายในการเขียนบันทึก เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีระยะเวลาในการรับประกันไม่เท่ากัน เช่น จากรูป วันที่ซื้อสินค้าคือ เดือน 2 ( กุมภาพันธ์ ) ปี ค . ศ . 1999 และระยะเวลาของการหมดประกันก็คือ เดือน 2 ( กุมภาพันธ์ ) ปี ค . ศ . 2002 ( ในกรณีที่ระยะเวลารับประกันเป็น 4 ปี )

  •  สติกเกอร์รับประกัน 2. สติกเกอร์รับประกัน (Warranty Sticker) ที่กำหนดเวลาสิ้นสุดในการรับประกัน โดยทางผู้รับประกันจะเขียนเดือนและปีที่สินค้าหมดอายุการรับประกันลงไปบนสติกเกอร์ โดยรูปแบบนี้จะทำให้รู้ได้แน่นอนว่าอุปกรณ์นี้จะหมดรับประกันเมื่อใด เช่น จากรูป ระยะเวลาของการหมดประกันก็คือ เดือน 2 ( กุมภาพันธ์ ) ปี ค . ศ . 2002